วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อนุรักษ์ น้ำ ป่า

พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า
    พระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์น้ำ ป่า และสร้างความเป็นอยู่ที่ดี ให้กับราษฎรหลากหลายโครงการ โดย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งของโครงการอนุรักษ์ น้ำ ป่า และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับราษฎร ได้แก่ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ น้ำเพื่อชีวิต ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นห่วงเป็นใยในชีวิตและความเป็นอยู่ของราษฎร ในจังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเกษตรกรผู้ยากไร้ ซึ่งขาดความรู้ความเข้าใจทางการเกษตร และขาดที่ดินทำกิน จึงมีพระราชดำริกับผู้ช่วยเลขาธิการสำนักพระราชวัง (นายสหัส บุญญาวิวัฒน์) ให้ประสานกับทางจังหวัดนราธิวาส จัดหาพื้นที่ดินประมาณ 200 ไร่ เพื่อจัดทำฟาร์มตัวอย่างในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้ประสานงานกับหน่วยราชการต่างๆ จัดทำโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ สนับสนุนการใช้ประโยชน์ภายในโครงการฟาร์มตัวอย่าง ด้วยการขุดสระเก็บน้ำ ขุดเจาะบ่อบาดาล และวางระบบส่งน้ำ ทำให้สามารถส่งน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโครงการฟาร์มตัวอย่าง ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังต่อยอดขยายผลในหลายพื้นที่ของ 3 จชต.
    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถฯ รวม 20 แห่ง กระจายไปในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งเป็น จังหวัดนราธิวาส 9 แห่ง จังหวัดปัตตานี 9 แห่ง และจังหวัดยะลา 2 แห่ง เพื่อช่วยเหลือราษฎร ส่งผลทั้งในด้านความมั่นคงด้านอาชีพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สร้างขวัญและกำลังใจแก่ราษฎรในพื้นที่
    ปัจจุบัน มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในทุกภูมิภาคของประเทศ รวมแล้ว 271 โครงการ ซึ่งล้วนแต่ได้เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ที่มากด้วยประสิทธิผล ด้วยเป็นการสร้างอาชีพ สร้างคน สร้างชุมชน และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ให้แก่ราษฎรในทุกภูมิภาค รวมทั้งยังเป็นบทพิสูจน์อีกด้วยว่า น้ำ ป่า และมนุษย์นั้น สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

ร่วมดูแลทุกข์สุขพี่น้องประชาชน

ความรัก ความห่วงใย ให้การดูแลซึ่งกันและกัน กับครอบครัวของ น.ส.นูรอัยนี   สะมาแอ  อายุ ๔๖ ปี ซึ่งมีฐานะยากจน มีภาระต้องดูแลลูกน้อย จำนวน ๔ คน และคุณแม่ วัย ๖๕ ปี มีรายได้จากการรับจ้างทั่วไปและเก็บของเก่าขาย
พอมีรายได้เลี้ยงครอบครัวไปวัน ๆ เมื่อ สถานีวิทยุทักษิณสัมพันธ์ที่ ๔๐๑ ชุดควบคุมทักษิณสัมพันธ์ ออกพื้นที่ พบปะพัฒนาสัมพันธ์กับประชาชนใน ชุมชนซอยมัดยามัน ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส
จึงได้พบกับครอบครัวของ น.ส.นูรอัยนี ฯ จากการสอบถาม ทราบว่า น.ส.นูรอัยนี ฯ เป็นคนต่างพื้นที่แต่ได้เข้ามาเช่าบ้านอาศัยอยู่ในซอยนี้
จึงไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านของชุมชนดังกล่าว จึงไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานใด ๆ ในพื้นที่ ดังนั้น ชุดสถานีวิทยุฯ จึงได้มอบสิ่งของดำรงชีพ ได้แก่ ข้าวสารอาหารแห้ง เครื่องใช้อุปโภค บริโภค เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนในเบื้องต้น นำมาซึ่งรอยยิ้ม และความดีใจ ของ น.ส.นูรอัยนีฯ รวมถึงลูกน้อยที่ได้รับขนมและเสื้อผ้าชุดใหม่ๆ
จากนั้นได้กล่าวขอบคุณที่ได้มีหน่วยงานทหาร ของ สถานีวิทยุทักษิณสัมพันธ์ที่ ๔๐๑ เข้ามาให้การช่วยเหลือและดูแล ซึ่งหลังจากนั้น ชุดฯ ได้เป็นสื่อกลางประสานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมาดูและให้การช่วยเหลือในระยะยาวต่อไป

เราจะก้าวผ่านความขัดแย้งไปด้วยกัน

“หนูไม่รู้หรอกว่า โตขึ้นหนูจะได้เป็นอะไร หนูรู้แต่ว่า หนูรักพี่ทหาร พี่ทหารใจดี เข้ามาที่โรงเรียนของหนูทีไร ทำให้พวกหนูทุกคนมีแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ “นี่คือ คำพูดของ เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านตาปูตะ หมู่ที่ ๓ ต.ละหาร อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส
ซึ่งชุดสถานีวิทยุทักษิณสัมพันธ์ที่ ๔๐๑ จ.นราธิวาส ชุดควบคุมทักษิณสัมพันธ์ ได้เข้าไปจัดกิจกรรม แนะนำและฝึกทักษะการพูดเพื่อให้สามารถเข้าไปจัดรายการ เป็นดีเจเสียงใสได้
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น สร้างแรงบันดาลใจในอนาคตต่อไป พร้อมทั้งได้นำความรู้ เรื่องความรัก ความสามัคคี ความพอดี ความพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือยตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่ามกลางความตึงเครียดของสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ยังคงเลือกพื้นที่ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส เป็นหนึ่งในพื้นที่ก่อเหตุรุนแรงและสร้างสถานการณ์ เพื่อพยายามปิดกั้น ไม่ให้ จนท.รัฐ เข้าไปสร้างความเข้าใจกับเยาชนและประชาชนในพื้นที่

เสริมสร้างความเข้าใจ คือหนทางสู่สันติสุข


ประเทศไทย ประสบปัญหาความขัดแย้งในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งนับวันจะขยายเพิ่มมากขึ้น ในช่วงวันและเวลาต่าง ๆ กัน หากเราพิจารณาพัฒนาการทางด้านสถานการณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลไทยต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินนโยบายการปกครองของรัฐ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานที่ก่อให้เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกับมาเลเซีย และมีความคิดแปลกแยกจากรัฐ ซึ่งทำให้บางครั้งมีความคิดเห็นไม่ตรงกันกับ จนท.ของรัฐ อันซึ่งนำมาถึงการก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่ เมื่อใดมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงนำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งวิธีที่จะนำความขัดแย้งเป็นเรื่องดี หรือด้านบวกนั้น ต้องมีการจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการที่ปราศจากความรุนแรง นั้นก็คือการเจรจาหรือพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจ และจะนำไปสู่สันติสุขของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ในห้วงที่ผ่านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายมาก็มาก การใช้กำลังเข้าต่อสู้กันโดยไม่รู้ที่มาที่ไปหรือสาเหตุที่แท้จริงก็มีหลายเหตุการณ์ไม่ใช่น้อย สาเหตุหลักก็คือ เราไม่ได้มีโอกาสที่จะพูดคุยหรือสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เท่าที่ควร จากปัญหาดังกล่าว จนท.รัฐ ทุกภาคส่วนได้ดำเนินการจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และลดความวาดระแวง ระหว่าง จนท.รัฐ กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เช่น สภาสันติสุข สภาสตรี กลุ่มพลังมวลชนต่าง ๆ ซึ่งการปฏิบัติที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง พี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เริ่มมีความคิดไปในทางที่ดีกับ จนท.รัฐ การเสริมสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ การรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ
การเข้าไปเยี่ยมเยียนพบปะพัฒนาสัมพันธ์กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ จะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำพาให้สันติสุขเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในที่สุด

รอยยิ้มแห่งความสุขและความสามัคคี


อย่างที่เราเข้าใจกันมาโดยตลอดว่าประเทศได้ประสบปัญหาด้านการก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จชต. ในระยะเวลา 16 ปี ที่ผ่านมามีความเสียหายเกิดขึ้นมากมาย การบาดเจ็บเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่และประชาชน เศษฐกิจ สังคม สิ่งปลูกสร้าง  และอื่นๆ จึงทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความหวาดกลัวหวาดระแวงกับเหตุการที่เกิดขึ้นซึ่งอาจจะเกิขึ้นกับตัวเองได้ทุกที่ทุกเวลา เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนได้พยายามหาวิธีการด้านต่างๆเพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนในพื้นที่ใชั ชีวิตได้อย่างเป็นปกติและมีความสุข  จนถึง   ปัจจุบันนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จไปในทิศทางที่ดีมากเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกันสร้างโครงการกิจกรรมด้านต่างๆขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนเยวชนในพื้นที่ได้ร่วมโครงการและกิจกรรมในด้านต่างๆเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เข้าไปดูแล และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการลดความหวาดระแวงหวาดกลัวต่อกัน จากในภาพจะเห็นได้ว่ากีฬาก็เป็นโครงการกิจกรรม อีกอย่างหนึ่งที่ได้นำมาใช้ในพื้นที่ 3 จชต.  กีฬาก่อให้เกิดความสามัคคีภายใน หมู่บ้าน ชุมชน จนรวมไปถึงระดับโลกก็ใช้กีฬาเพื่อสร้างความสนุกสนานความเสียสละสามัคคีและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้ รอยยิ้มที่เกิดขึ้นนั้นไม้ต้องอธิบายอะไรให้มากมายเลยรอยยิ้มเกิดขึ้นมาโดยการสั่งการจากจิตและสมองที่บอกว่ามีความสุขมากจึงทำให้เกิดรอยยิ้ม รอยยิ้มที่เกิดขึ้นมาได้นั้นเป็นรอยยิ้มแห่งความสุข ผมคนหนึ่งที่อยากเห็นรอยยิ้มที่มีความสุขแบบนี้ในทุกๆวัน  ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสถานการณ์ใดเวลาใดรอยยิ้มนั้นสามารถสร้างปาฎิหารแห่งความสุขให้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
สิ่งที่ขาดหายก็หามาเติมต็มในสิ่งๆนั้นแม้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาที่ไม่มากมายแต่เชื่อว่าสิ่งที่ได้กระทำนั้นมันสามารถก่อเกิดรอยยิ้มแห่งความสุขได้แล้วมันจะตราตรึงอยู่ในใจในความรู้สึกของคนผู้นั้นตลอดไป

" พหุวัฒนธรรม "


“พหุวัฒนธรรม”




                    แม้ว่าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกิดสถานการณ์ความไม่สงบอยู่บ่อยครั้ง จนต้องมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดตลอด 24 ชั่วโมง แต่ในอีกด้านหนึ่งจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเมืองพหุวัฒนธรรม ที่ชาวไทยพุทธ-มุสลิม และไทยจีน อาศัยอยู่ร่วมกันและใช้ชีวิตแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ด้วยกันอย่างลงตัว ในเช้าตรู่ของพื้นที่แห่งหนึ่งในเมืองปัตตานี ทุกวันชาวพุทธบางจำนวนยืนรอตักบาตรพระสงฆ์สูงอายุรูปหนึ่งที่มารับบาตรโดยนั่งรถสามล้อถีบพ่วง ที่มีคนขี่เป็นชายชาวมุสลิม เป็นภาพที่เจนตาแก่ผู้ที่ผ่านไปมาบนถนนบริเวณนั้น ซึ่งมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยเป็นระยะทั่วเมือง แม้คนไทยทั่วประเทศจะมองว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้อันตรายและน่ากลัว แต่ผู้คนก็ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวัน ยังคงออกจากบ้านมาเพื่อประกอบอาชีพ ออกมาจับจ่ายใช้สอยในตลาดเป็นปกติ การอยู่ร่วมกันกับคนหมู่มากที่มีความแตกต่างทางด้าน เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งทัศนคติความเชื่อ ดังนั้นการเรียนรู้เพื่อยอมรับในความแตกต่างและความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยควรเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
เสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม นำสันติสุขสู่ “ชายแดนใต้”

นกเงือกเขาบูโด กฏแห่งป่า ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะอยู่รอด


นกเงือกเขาบูโด กับกฏแห่งป่า ผู้เข้มแข็งเท่านั้นถึงอยู่รอด





                      กาลครั้งหนึ่งที่เทือกเขาบูโด ยังมีนกเงือกอาศัยอยู่หลากหลายสายพันธุ์ อีกทั้งสัตว์ป่าน้อยใหญ่ก็ได้พึ่งพาอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งนี้ อยู่มาวันหนึ่งได้มีการสัมปทานไม้เกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่น ไม้ตะเคียนชันตาแมว ไม้หลุมพอ ไม้สยา และกาลอ 
                      ต้นไม้ขนาดหลายคนโอบ อายุหลายร้อยปีถูกตัดโค่น และลำเลียงมาจากเทือกเขาสูง ด้วยแรงงานช้าง และรถบรรทุกซุงขนาดยักษ์ เสียงเลื่อยยนต์คำราม ผสานกับเสียงต้นไม้น้อยใหญ่ที่ล้มฟาดโขดหินดังสนั่นหวั่นไหว สัตว์ป่าแตกตื่นโกลาหล 
                      รวมถึงนกเงือกที่ทำรังในโพรงไม้เหล่านั้นก็ถูกตัดโค่นล้มลงไปพร้อมกัน ซ้ำร้ายยังมีการล้วงลูกนกจากโพรงรังไปขายกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีการล่าสัตว์ป่าเป็นเรื่องธรรมดา
                      หลังการหยุดสัมปทาน ป่าแห่งนี้ค่อยๆ รักษาบาดแผล ซึ่งเกิดจากความโลภของมนุษย์โดยแท้ มันค่อยๆ ฟื้นตัว และเริ่มเปิดเผยความจริงให้เป็นที่รับรู้สู่สาธารณชน โดยผ่านตัวหนังสือ และภาพถ่ายตามสื่อต่างๆ 
                      ความงาม ความจริง และสิ่งที่เป็นไปของเทือกเขาบูโดแห่งนี้ เทือกเขาที่ทุกวันนี้เป็นที่สนใจของคนรักนกเงือกทั่วโลก..
หากเปรียบต่อพื้นที่ ดินแดนแห่งนี้นับว่า มีประชากรนกเงือกหนาแน่นที่สุดของเมืองไทย แต่จะมีคนนราธิวาสหรือคนไทยสักกี่คนที่จะทราบว่า เทือกเขาบูโดแห่งนี้มีความหมาย และความสำคัญมากแค่ไหน
                     “ภูเขาบูโดถิ่นอาศัยของนกเงือก ถูกล้อมรอบด้วยหมู่บ้าน สัตว์ป่าจึงถูกล่า บ้างก็ถูกคุกคามถิ่น
ที่อยู่อาศัย  นกเงือกถูกจับไปขายทุกๆปีในฤดูทำรัง