วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

นกเงือกเขาบูโด กฏแห่งป่า ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะอยู่รอด


นกเงือกเขาบูโด กับกฏแห่งป่า ผู้เข้มแข็งเท่านั้นถึงอยู่รอด





                      กาลครั้งหนึ่งที่เทือกเขาบูโด ยังมีนกเงือกอาศัยอยู่หลากหลายสายพันธุ์ อีกทั้งสัตว์ป่าน้อยใหญ่ก็ได้พึ่งพาอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งนี้ อยู่มาวันหนึ่งได้มีการสัมปทานไม้เกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่น ไม้ตะเคียนชันตาแมว ไม้หลุมพอ ไม้สยา และกาลอ 
                      ต้นไม้ขนาดหลายคนโอบ อายุหลายร้อยปีถูกตัดโค่น และลำเลียงมาจากเทือกเขาสูง ด้วยแรงงานช้าง และรถบรรทุกซุงขนาดยักษ์ เสียงเลื่อยยนต์คำราม ผสานกับเสียงต้นไม้น้อยใหญ่ที่ล้มฟาดโขดหินดังสนั่นหวั่นไหว สัตว์ป่าแตกตื่นโกลาหล 
                      รวมถึงนกเงือกที่ทำรังในโพรงไม้เหล่านั้นก็ถูกตัดโค่นล้มลงไปพร้อมกัน ซ้ำร้ายยังมีการล้วงลูกนกจากโพรงรังไปขายกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีการล่าสัตว์ป่าเป็นเรื่องธรรมดา
                      หลังการหยุดสัมปทาน ป่าแห่งนี้ค่อยๆ รักษาบาดแผล ซึ่งเกิดจากความโลภของมนุษย์โดยแท้ มันค่อยๆ ฟื้นตัว และเริ่มเปิดเผยความจริงให้เป็นที่รับรู้สู่สาธารณชน โดยผ่านตัวหนังสือ และภาพถ่ายตามสื่อต่างๆ 
                      ความงาม ความจริง และสิ่งที่เป็นไปของเทือกเขาบูโดแห่งนี้ เทือกเขาที่ทุกวันนี้เป็นที่สนใจของคนรักนกเงือกทั่วโลก..
หากเปรียบต่อพื้นที่ ดินแดนแห่งนี้นับว่า มีประชากรนกเงือกหนาแน่นที่สุดของเมืองไทย แต่จะมีคนนราธิวาสหรือคนไทยสักกี่คนที่จะทราบว่า เทือกเขาบูโดแห่งนี้มีความหมาย และความสำคัญมากแค่ไหน
                     “ภูเขาบูโดถิ่นอาศัยของนกเงือก ถูกล้อมรอบด้วยหมู่บ้าน สัตว์ป่าจึงถูกล่า บ้างก็ถูกคุกคามถิ่น
ที่อยู่อาศัย  นกเงือกถูกจับไปขายทุกๆปีในฤดูทำรัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น